You're currently viewing this page in Thai. Click here to switch to English.

แก้ปัญหาสภาพคล่องธุรกิจ "ขายฝาก" เปลี่ยนโฉนดให้เป็นเงินก้อน

  • รับเงินไว ไม่ยุ่งยาก เงื่อนไขยืดหยุ่น
  • ให้วงเงินสูง ดอกเบี้ยต่ำ
  • บ้าน คอนโด อาคารพาณิชย์ ในกรุงเทพและปริมณฑล
  • ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย ณ สำนักงานที่ดิน

banner อนุมัติไว

 

ผลิตภัณฑ์นี้ให้บริการโดย บริษัท เอฟเอส แคปปิตอล จำกัด ทั้งนี้ บริษัท เอฟเอส แคปปิตอล จำกัด ไม่ใช่ Funding Portal และไม่ได้เป็นผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต.

เงินก้อน อุ่นใจ

 

“สัญญาขายฝาก” คืออะไร ?

สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์รูปแบบหนึ่ง โดยผู้ขายฝากจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตนเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้รับซื้อฝาก โดยผู้รับซื้อฝากตกลงว่าจะจ่ายเงินตามมูลค่าของทรัพย์สินที่ตกลงกันให้แก่ผู้ขายฝาก ซึ่งมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน ดังนั้นเพื่อความถูกต้องและป้องกันความเข้าใจผิด ก่อนทำสัญญาผู้ขายฝากต้องเช็กข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ให้ชัดเจน

"สัญญาขายฝาก" เหมาะกับใครบ้าง ?

  • ทำได้ทั้งนิติบุคคล และ บุคคลธรรมดา
  • เป็นสินทรัพย์ไม่มีข้อพิพาททางกฎหมาย
  • เป็นธุรกิจหรือบุคคลที่ไม่อยู่ในกระบวนการล้มละลาย
  • มีเอกสารกรรมสิทธิ์ถูกต้อง โฉนดที่ดิน (น.ส.4), หรือโฉนดห้องชุด (อ.ช.2)

ทำไมควรเลือกใช้บริการขายฝากกับเรา ?

สมัครง่าย ขั้นตอนสะดวก

สมัครและส่งเอกสารผ่านระบบออนไลน์ได้ง่าย ๆ

ให้วงเงินสูง

รับวงเงินสูงสุดถึง 60% ของมูลค่าทรัพย์ตามราคาประเมิน

บริการแบบครบวงจร

ทีมงานของเราพร้อมดูแลคุณตั้งแต่ขั้นตอนการสมัคร จนถึงวันโอนกรรมสิทธิ์

ดอกเบี้ยต่ำ

อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 1% ต่อเดือน

Why_choose_Business_Term_Loans_from_Funding_Societies

ประเภทสินทรัพย์ที่สามารถนำมาขายฝากกับเราได้

1-3
2-3
3-2

สมัครขายฝากอย่างไร ?

1

สมัครผ่านเว็บไซต์

ทำการสมัครและส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารการยืนยันตนหรือบริษัท, โฉนดที่ดิน (น.ส.4), โฉนดห้องชุด (อ.ช.2) และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2

ประเมินทรัพย์สิน

ดำเนินการประเมินมูลค่าทรัพย์เพื่อเสนอวงเงิน

3

อนุมัติ

หลังจากทางเราได้ทำการประเมินราคาของสินทรัพย์แล้ว เราจะทำการเสนอราคาเพื่ออนุมัติราคาสินทรัพย์

4

ลงนามในสัญญา

หลังจากที่ทราบผลการอนุมัติ Funding Socieites จะดำเนินการเสนอรายละเอียดของข้อตกลงการขายฝาก พร้อมเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน เพื่อให้ท่านพิจารณา เมื่อลูกค้ายอมรับข้อเสนอและลงนามในสัญญาทางกฎหมายเรียบร้อยแล้ว Funding Societies จะดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องโดยทันที

กรอกใบสมัครเพื่อขายฝาก

เอกสารที่ใช้ในการสมัคร

✔️ สำเนาบัตรประชาชน

✔️ สำเนาทะเบียนบ้าน

✔️ เอกสารกรรมสิทธิ์ (หน้าและหลัง) โฉนดที่ดิน (น.ส.4) หรือ โฉนดห้องชุด ​(อ.ช.2)

 

 

คำถามที่พบบ่อย

  • ค่าใช้จ่าย ณ วันทำสัญญาและวันไถ่ถอน คิดอย่างไร?

    ค่าใช้จ่าย ณ วันทำสัญญา ขายฝาก/จำนอง (ผู้กู้เป็นผู้รับผิดชอบ)

    • ขายฝาก กรณีบุคคลธรรมดา (ไทย)
    1. ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรมขายฝาก (เทียบเท่าการขาย/โอน) 2% ของมูลค่าประเมิน หรือ ราคาขาย แล้วเเต่มูลค่าใดสูงกว่า
    2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย ( คำนวณจาก ราคาประเมิน เป็นอัตราก้าวหน้า)
    3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (กรณี ถือครองทรัพย์เป็นเวลาเกิน 5 ปี หรือ มีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี ไม่ต้องเสีย)
    4. 0.5% ของราคาขายฝากหรือราคาประเมิน (แล้วแต่ราคาอย่างใดสูงกว่า) 
    • ขายฝาก นิติบุคคล(ไทย)
    1. ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรมขายฝาก (เทียบเท่าการขาย/โอน) 2% ของมูลค่าประเมิน หรือ ราคาขาย แล้วเเต่มูลค่าใดสูงกว่า
    2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย ( คำนวณจาก 1% ของราคาประเมินหรือราคาขาย คิดจากมูลค่าที่สูงกว่า )
    3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (กรณี ถือครองทรัพย์เป็นเวลาเกิน 5 ปี ไม่ต้องเสีย)
    4. อากรแสตมป์ไม่ต้องเสีย หากเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว
    5. ค่าธรรมเนียมสำนักงานที่ดิน/เอกสารค่าคำขอ ค่าคัดสำเนา ฯลฯ~1,000–2,000 บาท

    วันไถ่ถอน

    สรุปค่าธรรมเนียมไถ่ถอนขายฝาก (ทั่วไประดับสำนักงานที่ดิน)

    รายการรายละเอียดอัตรา/ค่าใช้จ่าย

    1. ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนค่าจดทะเบียนไถ่ถอนกรรมสิทธิ์50 บาท (มาตรฐาน)
    2. ค่าคำขอ/ค่าคัดเอกสารค่าคำร้อง, ค่าคัดโฉนด ฯลฯ~100–200 บาท
    3. ภาษี/ค่าใช้จ่ายอื่น ๆไม่มีภาษีอื่นเพิ่มเติมในขั้นตอนไถ่ถอน ถ้าไม่มีการขายต่อ

    โดยปกติการไถ่ถอนขายฝากจะมีค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อย และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมโอน 2% เหมือนตอนขายฝาก

  • ค่าปากถุง หรือค่าดำเนินการคืออะไร และเป็นเท่าใด?

    ค่าปากถุง หรือค่าดำเนินการ คือ ค่าธรรมเนียมในการกู้ หรือ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ซึ่งจะชำระเพียงครั้งเดียว และไม่มีค่าธรรมเนียมอื่นใดเพิ่มเติมตลอดอายุสัญญา โดยทาง Funding Societies เราคิดในอัตราที่ เพียง 3% ของมูลค่าวงเงินขายฝาก ซึ่งน้อยกว่าผู้รับซื้อฝากเจ้าอื่นในตลาด

  • การขายฝาก อยู่ในระบบหรือนอกระบบ?

    ถือว่าเป็น “ในระบบ” ถ้าไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน ซึ่ง ต้องจดทะเบียนเสมอ เพราะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายแพ่ง มาตรา 491

    การขายฝากต้องมี:

    • สัญญาขายฝาก
    • การโอนกรรมสิทธิ์ (ชื่อในโฉนดเปลี่ยน)
    • การกำหนดระยะเวลาไถ่ทรัพย์ (สูงสุดไม่เกิน 10 ปี)

    หากมีการทำสัญญาขายฝากกันเองโดยไม่จดทะเบียนที่ดิน ถือว่า “นอกระบบ”

  • อายุสัญญาเป็นอย่างไร ควรต่อสัญญาเมื่อไหร่ และมีค่าธรรมเนียมเท่าไหร่?

    ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491

    1. อสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน/บ้าน/อาคาร):
    • อายุสัญญา ไม่เกิน 10 ปี (ระหว่างบุคคลทั่วไป)
    • หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็น นิติบุคคล → ไม่เกิน 3 ปี

    เมื่อครบกำหนดไถ่ทรัพย์แล้ว ผู้ขายฝากจะ หมดสิทธิไถ่ หากไม่มีการต่ออายุสัญญาก่อนครบกำหนด

    1. ควรต่อสัญญาเมื่อใด?
    • ควรดำเนินการต่อสัญญา ล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนหมดอายุ
    • เพราะหากเลยวันครบกำหนดแม้เพียง 1 วัน → สิทธิในการไถ่จะขาดทันทีโดยไม่สามารถอ้างความเมตตาหรือร้องต่อศาลได้
    • การต่อสัญญาจะต้องไปที่ สำนักงานที่ดิน พร้อมคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย และทำ "หนังสือขยายระยะเวลาขายฝาก" อย่างถูกต้อง
    1. ค่าธรรมเนียมการต่อสัญญาขายฝาก

    รายการอัตราค่าธรรมเนียมค่าจดทะเบียนต่ออายุสัญญา1% ของวงเงินขายฝาก (เช่นเดิม)เพดานสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาทค่าคำขอ/ค่าคัดเอกสาร ฯลฯประมาณ 100–500 บาท